รายละเอียดการลงทะเบียนปี 2021
โครงการ AI Builders ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง VISTEC, AI Research และ Central Tech เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence / AI) ให้กับน้องๆระดับมัธยมต้น-ปลาย ที่สนใจอยากเรียนรู้และพัฒนาโครงงานที่ใช้ทักษะในด้านนี้เพื่อประยุกต์ใช้จริงในชีวิตประจำวัน
ช่วงเวลาการรับสมัคร 24 มีนาคม - 15 เมษายน 2021
ช่วงเวลาของโครงการ 21 เมษายน - 16 มิถุนายน 2021
ระยะเวลาของโครงการ 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 - 8 ชั่วโมง (เรียนตาม fastai และทำโครงงาน)
วัตถุประสงค์ เสริมสร้างความเชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ให้กับน้องๆระดับมัธยมต้น-ปลาย เพื่อให้เข้าใจการทำงานของปัญญาประดิษฐ์เบื้องต้น นำไปสู่การทดลองสร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์และแอพพลิเคชั่นเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงได้ในโครงงานจบการศึกษา (Capstone Project)
ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- โครงงานจบการศึกษา (Capstone Project) เป็นโมเดลปัญญาประดิษฐ์และแอพพลิเคชั่นเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง เช่น ลดเวลาการทำงานของมนุษย์ ทำในสิ่งที่มนุษย์ทำไม่ได้ หรือช่วยให้มนุษย์เข้าใจโลกรอบตัวได้ดีขึ้น โมเดลที่สร้างอาจจะไม่จำเป็นต้องมีประสิทธิภาพเทียบเท่า state-of-the-art (แม้เราเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ไม่น้อย) แต่ทำเพื่อให้น้องๆเข้าใจการทำงานของโมเดล นำไปต่อยอดในอนาคต และที่สำคัญสนุกกับการสร้างปัญญาประดิษฐ์
โครงงานประกอบด้วย
- โมเดลปัญญาประดิษฐ์พร้อมโค้ดบน Github / Kaggle
- บทความบรรยายวิธีคิดและการแก้ปัญหาโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์บน Medium
- การนำเสนอผลงานต่อผู้ทรงคุณวุฒิของ VISTEC และ Central Group
- ความเชี่ยวชาญด้านการเขียนโปรแกรมและสร้างปัญญาประดิษฐ์
- ทักษะการคิดวิธีแก้ปัญหาด้วยปัญญาประดิษฐ์
- ทักษะการเขียนโปรแกรมพื้นฐานด้วย Python
- ทักษะจัดการข้อมูลพื้นฐาน
- ทักษะคณิตศาสตร์ระดับมัธยมปลาย
- สร้างโมเดล deep learning สำหรับข้อมูลประเภทรูปภาพ ตาราง และข้อความด้วย fastai และ huggingface
- เรียนรู้การทำงานเป็นทีม แบ่งปันทักษะ และเรียนรู้ไปด้วยกันกับเพื่อนๆในโครงการ
- เข้าใจความสำคัญของชุมชน open source และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแบ่งปันทักษะ ข้อมูล และโมเดลให้กับสังคม
เกณฑ์การรับสมัคร
- คอมพิวเตอร์ที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้
- ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ระดับมัธยมปลาย
- พีชคณิตเชิงเส้น (linear algebra)
- ความน่าจะเป็นและสถิติ
- แคลคูลัสเบื้องต้น; เฉพาะเรื่อง derivatives, chain rule และ partial derivatives
- ทักษะการฟังและอ่านภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน
- ความอยากรู้อยากเห็นและความมุ่งมั่นในการสร้างโครงงาน
- จิตอาสาเพื่อแบ่งปันผลงานกับชุมชน open source
โครงการรองรับน้องๆทุกระดับความเชี่ยวชาญตั้งแต่
- น้องๆที่อยากเข้ามาเรียน AI ตั้งแต่เริ่มต้น อาจจะยังไม่เคยเขียนโค้ดมาก่อน อยากพัฒนาโครงงานที่ใช้ AI ไปใช้งานในอนาคต
- น้องๆที่อยากเข้ามาเรียน AI โดยที่มีโจทย์ในใจอยู่ระดับนึงแล้ว มีประสบการณ์ด้านการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น
- น้องๆที่กำลังทำงานวิจัย-ผลิตภัณฑ์ อยากเข้ามาเรียนรู้เพิ่มเติมและต้องการ feedback จากอาจารย์หรือ mentor
น้องๆสามารถทำโครงงานคนเดียวหรือเป็นคู่ โดยทางโครงการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ pair programming กับเพื่อนๆ TA หรือ mentor ถ้าติดขัดในโครงงานสามารถติดต่อ TA และ mentor ได้ทาง
จำนวนที่รับและการลงทะเบียน
เนื่องจากโปรแกรม AIB ถูกจัดขึ้นมาเป็นครั้งแรกและมีจำนวน TA/mentor จำกัด ทำให้เราสามารถรับนักเรียนได้ 40-50 คนเข้ามาในโครงการเท่านั้น น้องๆสามารถลงทะเบียนได้ที่ แบบฟอร์มลงทะเบียนนี้ โดยเราจะพิจารณาจากเหตุผลที่สมัคร ความมุ่งมั่น และความหลากหลายของนักเรียนที่สมัครเข้ามาในโครงการ
รูปแบบการเรียนการสอน
เราจะใช้ระบบ flipped classroom โดยให้ผู้เรียนฟัง สำหรับตารางเรียนเราจะอิงตาม Practical Deep Learning for Coders ของ fastai โดยที่จะให้น้องๆเรียน 1 คาบต่อสัปดาห์ ทั้งหมด 8 สัปดาห์ และมี recap 1 ชั่วโมงทุกวันพุธ หลังจากนั้น 30 นาทีเป็นการคุยโครงงานเพื่อกลับไปพัฒนาต่อ ทุก meeting จะจัดขึ้นใน Gather Town
โครงงานและการดำเนินโครงการ
- สัปดาห์ที่ 0 เจอกันเบื้องต้น:
- แนะนำตัว ทำความรู้จักกับเพื่อนๆ
- งานที่อยากทำเป็นแนวไหน คร่าวๆ: signal processing, image processing, natural language processing และอื่นๆ
- น้องๆอยากเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไร / มีความสนใจด้านใด / อยากนำองค์ความรู้ไปต่อยอดด้านใดเป็นพิเศษ
- โครงงานที่อยากทำ, จับคู่สำหรับน้องๆที่อยากทำโครงงาน 2 คน หรือน้องๆที่มีความสนใจใกล้เคียงกัน
- สัปดาห์ที่ 1:
- เริ่มต้นลงรายละเอียดสำหรับโครงงานที่อยากทำ / คำถามที่น้องๆอยากตอบคำถาม
- อยากนำโครงงานไปใช้งานอะไร
- ชุดข้อมูลที่จะใช้ ข้อมูลมีรายละเอียดอะไรบ้าง
- เทคนิคที่คิดว่าจะใช้สำหรับโครงงานมีอะไรบ้าง
- จุดมุ่งหมายสูงสุดว่าถ้าโครงงานนี้ไปได้ไกลสุดๆอยากเอาไปใช้งานอะไร
- สัปดาห์ที่ 2:
- เริ่มต้นโครงงาน, โหลดข้อมูล, ลองดูว่าจะจัดการข้อมูลและสร้างโมเดลอย่างไร
- ปรึกษากับ mentor ด้านเทคนิคที่จะลองพัฒนาหลังจากได้ข้อมูลมาแล้ว
- ชุดโค้ดก่อนหน้าที่อยากลองใช้ / อะไรที่อยากพัฒนาเพิ่มเติม (ชุดข้อมูลหรือเทคนิค)
- สัปดาห์ที่ 3 - 8:
- ลงมือทำโครงงานและอัพเดทกับ mentor ทุกวันพุธหลังจากการเรียน fast.ai
- สามารถทำไปควบคู่กับการทำ web development
- สัปดาห์ที่ 9:
- นำเสนอโครงงาน